FUHRER WIRE AND CABLE
Ready to be a part of the development of the country in the technology of producing electrical cables
FUHRER WIRE AND CABLE
Ready to be a part of the development of the country in the technology of producing electrical cables
FUHRER WIRE AND CABLE
Ready to be a part of the development of the country in the technology of producing electrical cables
Previous
Next

Our PRODUCTS

INFRASTRUCTURE

POWER PLANT, TRANSMISSION LINE

BUILDING

FACTORY

ADDITIONAL PRODUCT

Continuously develop and improve the organization to international standards. Build confidence in the product to both private and public sector customer bases. Increase the potential and efficiency of the organization.

NEWS & ARTICLES

59A69F11-ADE3-497A-942E-36A9DAC4A441

การใช้งานไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ไม่แยกตัวจากชีวิตประจำวันของเราแล้ว ด้วยเหตุผลนี้การนำสายไฟฟ้าไปติดตั้งใต้ดินก็กลายเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะมีข้อดีในหลายๆ ด้าน อย่างไรก็ตาม การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินก็มีข้อจำกัดและอุปสรรคบางประการ ในบทความนี้เราจะพูดถึงความสำคัญของการใช้สายไฟฟ้าใต้ดิน ข้อดีและข้อเสียของสายไฟฟ้าใต้ดิน

Underground power cables เป็นสายไฟฟ้าที่ถูกติดตั้งใต้ดินเพื่อนำไฟฟ้าจากสถานีผลิตไฟฟ้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้ว การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินมักจะใช้กับพื้นที่ในเมืองที่สูงขึ้น หรือมีที่ดินไม่เพียงพอสำหรับการติดตั้งสายไฟฟ้าบนดิน อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการติดตั้งสายไฟฟ้าบนดิน

ความสำคัญของการใช้สายไฟฟ้าใต้ดิน

การใช้สายไฟฟ้าใต้ดินมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาพื้นที่ในเมือง โดยเฉพาะในเมืองที่มีอาคารสูง หรือเมืองที่มีประชากรหนาแน่น การใช้สายไฟฟ้าใต้ดินสามารถช่วยลดการเกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับสายไฟฟ้าซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในที่สาธารณะ นอกจากนี้ การใช้สายไฟฟ้าใต้ดินยังช่วยประหยัดพื้นที่และป้องกันการทำลายทิ้งของสายไฟฟ้าบนท่อลม

ข้อดีของสายไฟฟ้าใต้ดิน:

1. ความปลอดภัยสูง: สายไฟฟ้าใต้ดินมีความปลอดภัยสูงกว่าสายไฟฟ้าอากาศ เนื่องจากไม่มีการแพร่กระจายของไฟฟ้า และไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการชนกันของสิ่งของ ทำให้สายไฟฟ้าใต้ดินมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า

2. การส่งถึงระยะไกลได้: สายไฟฟ้าใต้ดินสามารถส่งไฟฟ้าได้ไกลกว่าสายไฟฟ้าอากาศโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการสูญเสียพลังงานหรืออุปสรรคใดๆ

3. ไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเมือง: การใช้สายไฟฟ้าใต้ดินไม่ทำให้มีสายไฟฟ้าต่างๆเกิดขึ้นในเมือง ทำให้เมืองดูสะอาดมากขึ้น

4. ความนิยมเพิ่มขึ้น: ในปัจจุบันสายไฟฟ้าใต้ดินมีความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ

ข้อเสียของสายไฟฟ้าใต้ดิน:

1. ต้นทุนสูง: การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการติดตั้งสายไฟฟ้าอากาศ ซึ่งเนื่องจากการทำงานต้องใช้เครื่องจักรและเครื่องมือพิเศษเพิ่มเติม เช่น เครื่องเจาะหลุมในดิน การสั่นสะเทือนจากการขุดดินและความเสี่ยงที่จะไปเจาะสายไฟฟ้าหรือท่อน้ำใต้ดิน

2. การตรวจและบำรุงรักษาที่ยากขึ้น: การตรวจและบำรุงรักษาสายไฟฟ้าใต้ดินจะยากกว่าสายไฟฟ้าอากาศ เนื่องจากสายไฟฟ้าอยู่ภายใต้ดินและไม่สามารถมองเห็นได้โดยตรง ซึ่งอาจทำให้การแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อขัดข้อง เช่น การตรวจสอบความเสียหายหรือการแก้ไขข้อบกพร่อง จะเป็นงานที่ยากและต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่จะช่วยในการตรวจสอบและซ่อมบำรุง

3. การเกิดอุปสรรค: สายไฟฟ้าใต้ดินอาจเกิดอุปสรรคจากการขุดถนนหรือการก่อสร้างอื่น ๆ ทำให้ต้องมีการซ่อมแซมเพิ่มเติม

F4BA4105-C645-4889-9960-0922484B4B00

อายุการใช้งานของสายไฟฟ้าที่ได้มาตราฐานสากลมีอายุใช้งานเฉลี่ย 15-20 ปี ทั้งนี้อายุการใช้งานยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ติดตั้งสายไฟฟ้าด้วย ปัจจัยที่สามารถทำให้สายไฟฟ้าเสื่อมสภาพไปก่อนเวลา มีอาทิเช่นแสงแดด ความร้อนและความชื้น ทั้งนี้การติดตั้งสายไฟฟ้าแบบร้อยท่อจะช่วยยืดอายุการใช้งานสายไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น

วิธีสังเกตการเสื่อมสภาพของสายไฟ

  1. สังเกตจากฉนวนสายไฟภายนอก ว่าสภาพของสายไฟว่ามีความสมบูรณ์ การฉีกขาด มีรอยแยก การละลายของฉนวนหุ้มสายไฟ และร่องรอยที่บ่งบอกว่าสายไฟฟ้ามีการชำรุดอื่นๆ 
  2. ติดต่อต่อช่างไฟที่ความเชี่ยวชาญด้านสายไฟ เพื่อทำการตรวจสอบเชิงลึก

การตรวจเช็คสภาพสายไฟฟ้าสม่ำเสมอทุก 1-2 ปี มีความสำคัญอย่างมาก เพราะการใช้สายไฟฟ้าที่เสื่อมอายุ หรือชำรุด สามารถทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และอาจะทำให้มีโอกาสเกิดอัคคีภัย สร้างความเสียหายให้ที่บริเวณที่ติดตั้งสายไฟ 

IMG_5071

Busbar

โดยทั่วไปบัสบาร์มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นจุดเชื่อมต่อรวมที่มีวงจรไฟฟ้าหลายวงจรต่อเข้าด้วยกัน โดยปกติแล้วจะมีวงจรป้อนเข้าจำนวนน้อย แต่จะมีวงจรจ่ายไฟฟ้าออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งบัสบาร์จะทำขึ้นมาจากวัสดุที่นำไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีทั้งชนิดที่ตัวนำผลิตด้วยทองแดงและอลูมิเนียม รูปร่างของบัสบาร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปเป็นแบบ Flat คือมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากติดตั้งงานระบายความร้อนได้ดี อีกทั้งบัสบาร์ยังมีความคล่องตัวสูxงในการเชื่อมตัววงจร

ประเภทของบัสบาร์

1.บัสบาร์แบบเปลือย (Copper Bar) คือบัสบาร์ที่ไม่มีการพ่นสีลงบนพื้นผิวตัวนำของบัสบาร์ ซึ่งมีความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้าได้ปริมาณที่น้อยกว่าบัสบาร์ที่มีการพ่นสี ถ้าพิจารณาถึงคุณสมบัติทางกายภาพของบัสบาร์ จะสังเกตได้ตรงที่พื้นผิวของบัสบาร์ หลังจากมีการใช้งานเป็นระยะเวลาหนึ่ง และบริเวณสภาพแวดล้อมในการใช้งานที่มีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นอุณหภูมิของอากาศและความชื้นโดยรอบ จะส่งผลโดยตรงกับบัสบาร์ เนื่องจากบัสบาร์มีการนำกระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมากก็ย่อมที่จะทำให้เกิดความร้อนสะสมที่พื้นผิวของบัสบาร์ ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้น ผนวกด้วยกับอากาศภายในตู้ทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นที่พื้นผิวของบัสบาร์และทำให้เกิดเป็นขี้ตะกอนเกาะบริเวณรอยต่อหรือจุดต่อต่างๆ ของบัสบาร์ ซึ่งส่งผลทำให้พื้นผิวการนำกระแสไฟฟ้าของบัสบาร์มีพื้นที่การนำกระแสไฟฟ้าน้อยลงนั้นเอง ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นจะทำได้ด้วยการออกแบบบัสบาร์ที่มีขนาดใหญ่และมีจำนวนหลานเส้น(Bundle) ในแต่ละเฟสเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการระบายความร้อนและกระจายความร้อนออกจากบัสบาร์

2.บัสบาร์แบบพ่นสี (Powder-Coated Busbar)คือบัสบาร์ที่มีการพ่นหรือเคลือบสีที่บริเวณพื้นผิวของบัสบาร์ ซึ่งสีที่ใช้พ่นเคลือบบัสบาร์มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนสูงและเป็นสีฝุ่น การพ่นสีเคลือบบัสบาร์จะช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาขึ้นที่พื้นผิวและความเสียหายของบัสบาร์ อีกทั้งการนำกระแสไฟฟ้าแบบพ่นสียังสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้สูงกว่าบัสบาร์แบบเปลือยอีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บัสบาร์นั้นมีการระบายความร้อนได้ดีกว่า