Underground Wiring System
Underground power cables เป็นสายไฟฟ้าที่ถูกติดตั้งใต้ดินเพื่อนำไฟฟ้าจากสถานีผลิตไฟฟ้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการ โดยทั่วไปแล้ว การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินมักจะใช้กับพื้นที่ในเมืองที่สูงขึ้น หรือมีที่ดินไม่เพียงพอสำหรับการติดตั้งสายไฟฟ้าบนดิน อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการติดตั้งสายไฟฟ้าบนดิน
อายุการใช้งานของสายไฟ และวิธีสังเกตุสายไฟที่ชำรุด
อายุการใช้งานของสายไฟฟ้าที่ได้มาตราฐานสากลมีอายุใช้งานเฉลี่ย 15-20 ปี ทั้งนี้อายุการใช้งานยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ติดตั้งสายไฟฟ้าด้วย ปัจจัยที่สามารถทำให้สายไฟฟ้าเสื่อมสภาพไปก่อนเวลา มีอาทิเช่นแสงแดด ความร้อนและความชื้น ทั้งนี้การติดตั้งสายไฟฟ้าแบบร้อยท่อจะช่วยยืดอายุการใช้งานสายไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น วิธีสังเกตการเสื่อมสภาพของสายไฟ การตรวจเช็คสภาพสายไฟฟ้าสม่ำเสมอทุก 1-2 ปี มีความสำคัญอย่างมาก เพราะการใช้สายไฟฟ้าที่เสื่อมอายุ หรือชำรุด สามารถทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และอาจะทำให้มีโอกาสเกิดอัคคีภัย สร้างความเสียหายให้ที่บริเวณที่ติดตั้งสายไฟ
ประเภทของบัสบาร์ Busbar
Busbar โดยทั่วไปบัสบาร์มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นจุดเชื่อมต่อรวมที่มีวงจรไฟฟ้าหลายวงจรต่อเข้าด้วยกัน โดยปกติแล้วจะมีวงจรป้อนเข้าจำนวนน้อย แต่จะมีวงจรจ่ายไฟฟ้าออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งบัสบาร์จะทำขึ้นมาจากวัสดุที่นำไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีทั้งชนิดที่ตัวนำผลิตด้วยทองแดงและอลูมิเนียม รูปร่างของบัสบาร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปเป็นแบบ Flat คือมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากติดตั้งงานระบายความร้อนได้ดี อีกทั้งบัสบาร์ยังมีความคล่องตัวสูxงในการเชื่อมตัววงจร ประเภทของบัสบาร์ 1.บัสบาร์แบบเปลือย (Copper Bar) คือบัสบาร์ที่ไม่มีการพ่นสีลงบนพื้นผิวตัวนำของบัสบาร์ ซึ่งมีความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้าได้ปริมาณที่น้อยกว่าบัสบาร์ที่มีการพ่นสี ถ้าพิจารณาถึงคุณสมบัติทางกายภาพของบัสบาร์ จะสังเกตได้ตรงที่พื้นผิวของบัสบาร์ หลังจากมีการใช้งานเป็นระยะเวลาหนึ่ง และบริเวณสภาพแวดล้อมในการใช้งานที่มีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นอุณหภูมิของอากาศและความชื้นโดยรอบ จะส่งผลโดยตรงกับบัสบาร์ เนื่องจากบัสบาร์มีการนำกระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมากก็ย่อมที่จะทำให้เกิดความร้อนสะสมที่พื้นผิวของบัสบาร์ ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้น ผนวกด้วยกับอากาศภายในตู้ทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นที่พื้นผิวของบัสบาร์และทำให้เกิดเป็นขี้ตะกอนเกาะบริเวณรอยต่อหรือจุดต่อต่างๆ ของบัสบาร์ ซึ่งส่งผลทำให้พื้นผิวการนำกระแสไฟฟ้าของบัสบาร์มีพื้นที่การนำกระแสไฟฟ้าน้อยลงนั้นเอง ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นจะทำได้ด้วยการออกแบบบัสบาร์ที่มีขนาดใหญ่และมีจำนวนหลานเส้น(Bundle) ในแต่ละเฟสเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการระบายความร้อนและกระจายความร้อนออกจากบัสบาร์ 2.บัสบาร์แบบพ่นสี (Powder-Coated Busbar)คือบัสบาร์ที่มีการพ่นหรือเคลือบสีที่บริเวณพื้นผิวของบัสบาร์ ซึ่งสีที่ใช้พ่นเคลือบบัสบาร์มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนสูงและเป็นสีฝุ่น การพ่นสีเคลือบบัสบาร์จะช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาขึ้นที่พื้นผิวและความเสียหายของบัสบาร์ อีกทั้งการนำกระแสไฟฟ้าแบบพ่นสียังสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้สูงกว่าบัสบาร์แบบเปลือยอีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บัสบาร์นั้นมีการระบายความร้อนได้ดีกว่า